วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 6 เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดค่าขึ้นได้ ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวความคิด กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม และทฤษฏีต่างๆ และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
 1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)   คือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้น ใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้า และการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
   1. สิทธิบัตร (Patent)
   2. เครื่องหมายการค้า (Trademark)
   3. ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
   4. ชื่อทางการค้า (Trade Name)
   สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) บัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตร มีสิทธิ์เด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ สิทธิจะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น
- การประดิษฐ์ คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับกลไก โครงสร้าง หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์
- การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร
    เครื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง เครื่องหมายสัญลักษณ์หรือตราที่ติดอยู่กับสินค้า หรือบริการ อาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือลายมือชื่อ ใช้เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของคนอื่น
    ความลับทางการค้า (Trade Secrets) หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามความสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ
    ชื่อทางการค้า (Trade Name) หมาถึง ชื่อที่บุคคลใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต โกดัก เป็นต้น

    2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)   หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยงานต่างๆ ดังนี้
 *  งานวรรณกรรม
 *  งานนาฏกรรม
 *  งานศิลปกรรม
 *  งานดนตรีกรรม
 *  งานโสตทัศนวัสดุ
 *  งานภาพยนต์
 *  งานสิ่งบันทึกเสียง
 *  งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
 *  งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
  * ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
  * รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  * ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
  * คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  * คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์  สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งมีลักษณะการได้มา ดังนี้
    * คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น
    * กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
    * กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ
    * กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องาน อันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้
    * ทำซ้ำหรือดัดแปลงใหม่
    * เผยแพร่ต่อสาธารณชน
    * ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง
    * ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นจะตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  * การปลอมแปลง เป็นการผลิตที่มีการใช้วัสดุ รูปลักษณ์ ตราสินค้าที่เหมือนกับของเจ้าของทุกประการโดยที่ผู้ซื้ออาจจะแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือไม่ เช่น การปลอมกระเป๋าแบรนด์เนม ร้องเท้า น้ำหอม เป็นต้น
  * การลอกเลียนแบบ ที่มีตัวสินค้ารูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้าของเจ้าของผู้ผลิตแต่จะมีการปรับเปลี่ยนหรือตกแต่เครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น โทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก
  * การลักลอบผลิต คือการลักลอบการผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน 

สรุป จากวิดีโอ




ลิขสิทธิ์ คือ ผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ เป็นต้น ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงาน ลิขสิทธิ์ของตนโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดง และสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ของตนได้ เช่น ทำซ้ำ คือการคัดเลือก ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ ฯลฯ จากต้นฉบับหรือสำเนา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การแสดง การบรรยาย การจำหน่าย การทำให้ปรากฏด้วยเสียงด้วยภาพ ฯลฯ จากงานที่ได้จัดทำขึ้น เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ภัยคุกคาม ช่องโหว่ และการโจมตี



ภัยคุกคาม (Threat)
-ภัยคุกคาม  Threat  คือ   วัตถุ  สิ่งของ ตัวบุคคล  หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นตัวแทนของการะทำอันตรายต่อทรัพย์สิน 
-ภัยคุกคามมีหลายกลุ่ม เช่น ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นโดยเจตนา หรือบางกลุ่มเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนา เช่น ภัยคุกคามจากธรรมชาติ หรือจากผู้ใช้ในองค์กรเอง
-ภัยคุกคามที่สามารถทำลายช่องโหว่ ได้เท่านั้น จึงจะสามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบได้


ประเภทของภัยคุกคาม  
1.ความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสารสนเทศขององค์กรได้
2. ภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา คือทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือองค์กรใด ๆ หากต้องการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้ อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะต้องระบุแหล่งที่มาของทรัพย์สินดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
3. การจารกรรมหรือการรุกล้ำ การจารกรรม เป็นการที่กระทำซึ่งใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ หรือตัวบุคคลในการจารกรรมสารสนเทศที่เป็นความลับ ผู้จารกรรมจะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ถึงซึ่งสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ และรวมรวมสารสนเทศนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การกรรโชกสารสนเทศ คือการที่มีผู้ขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นความลับจากคอมพิวเตอร์ต้องการเงินเป็นค่าตอบแทน เพื่อแลกกับการคืนสารสนเทศนั้น หรือแลกกับการไม่เปิดเผยสารสนเทศดังกล่าว เรียกว่า Blackmail
5. การทําลายหรือทําให้เสียหาย คือ เป็นการทําลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์เว็บไซต์ ภาพลักษณ์ ธุรกิจ และทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งอาจเกิดจากผู้อื่นที่ไม่หวังดีหรือแม้กระทั่งจากพนักงานขององค์กรเอง

6. การลักขโมย คือการถือเอาของผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เช่น อุปกรณ์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ ทั้งแบบธรรมดาและแบบอิเล็คทรอนิคส์ แล้วยังรวมถึงสารสนเทศขององค์กร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ

7. ซอฟต์แวร์โจมตี คือ เรียกว่า การโจมตีโดยซอฟต์แวร์ เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกแบบซอฟต์แวร์ให้ทำหน้าที่โจมตีระบบ เรียกว่า Malicious Code หรือ Malicious Software

8. ภัยธรรมชาติ คือภัยธรรมชาติต่างๆ สามารถสร้างความเสียหายให้กับสารสนเทศขององค์กรได้ หากไม่มีการป้องกันหรือวางแผนรับมือกับภัยธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรกรได้อย่างมหาศาล


ช่องโหว่ (Vulnerabilities)
-ช่องโหว่  Vulnerabilities หรือ ความล่อแหลม ซึ่งหมายถึง  ความอ่อนแอของระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้สิ่งที่เป็นภัยคุกคามสามารถเข้าถึงสารสนเทศในระบบได้
-ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายแก่สารสนเทศ หรือแม้แต่การทำงานของระบบ
 

ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบ
-การจัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ
-ระบบปฏิบัติการไม่ได้รับการซ่อมเสริมอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่มีการอัพเดทโปรแกรม Anti Virus อย่างสม่ำเสมอ
-การปรับแต่งค่าคุณสมบัติ ระบบผิดพลาด


การถูกโจมตี (Attack) 


     
     การโจมตี Attack   คือการกระทำบางอย่างที่อาศัยความได้เปรียบจากช่องโหว่ของระบบ เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบเกิดความเสียหาย หรือเพื่อโจรกรรมสารสนเทศ

รูปแบบการโจมตี

1.Malicious Code  หรือ Malware  คือโค๊ดมุ่งร้ายหรือเป็นอันตราย  อันได้แก่ Virus, Worm, Trojan Horse ยังรวมถึง Web scripts

2. Hoaxes  คือ การปล่อยข่าวหลอกลวง เช่น ปล่อยข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ทางเมล์ แล้วได้แนบโปรแกรมไวรัสไปด้วยเป็นต้น

3. Back door  หรือ Trap Door  คือเส้นทางลับที่จะช่วยผู้โจมตีหรือผู้บุกรุกเข้าสู่ระบบได้โดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ

4. Passwork Cracking  คือ การบุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ใดๆ โดยใช้วิธีการเจาะรหัสผ่าน  เริ่มต้นด้วยการคัดลอกไฟล์ SAM(security Acount Manager) แล้วทำการถอดรหัส ด้วยอัลกอริทึ่มถอดรหัสชนิดต่างๆ จนกว่าจะได้รหัสผ่านที่ถูกต้อง

5. Brute Force Attack  เป็นการพยายามคาดเดารหัสผ่าน โดยการนำคีย์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมาจัดหมู่ Combination

6. Dictionary Attack เป็นการคาดเดาที่แคบลง คือการคาดเดาจากตัวเลขในพจนานุกรม

7. Denial Of Service  คือ การปฏิเสธการให้บริการของระบบ เป็นการโจมตีโดยใช้วิธีส่งข้อมูลจำนวนมากไปยังเป้าหมาย ทำให้แบรนด์วิดธ์เต็มจนไม่สามารถให้บริการได้


 สิ่งที่ได้จากการดูคลิป ไวรัสคอมพิวเตอร์


-ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
-Worm (หนอน) คือ ไวรัสรูปแบบหนึ่ง แต่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวที่รวดเร็วมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว 
-Trojan (โทรจัน หรือ ม้าโทรจัน) คือโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแอบฝังตัวอยู่ในเครื่อง ซึ่งโปรแกรมจะแอบเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เรากระทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลอีเมล์, username, password หรือสิ่งที่ผู้สร้างโทรจันต้องการ

-สปายแวร์ คือ โปรแกรมเล็กๆ ที่เขียนขึ้นมาสอดส่องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้า ซึ่งสปายแวร์มักจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ใช้งาน และบางตัวอาจทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ 
อาการของเครื่องที่ติดไวรัส
-เครื่องทำงานช้าลง
-เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
-ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
-แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติ หรือไม่ทำงานเลย
-ข้อมูลเกิดการสูญหาย 
การป้องกันไวรัส  
-เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
-เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง 
-เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น